หลักสูตร “การเป็นครูพี่เลี้ยง”
(Mentoring Training Workshop)
หลักสูตร “การเป็นครูพี่เลี้ยง”
(Mentoring Training Workshop)
หลักการและเหตุผล
เป็นที่ยอมรับกันในกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่า “การฝึกอบรมแบบตัวต่อตัว” (One- to- One Training) โดยผู้บังคับบัญชาหรือผู้ชำนาญการในงาน ทำหน้าที่เป็นทั้งครูผู้สอน เป็นที่ปรึกษา เป็นครูฝึกให้ปฏิบัติงานได้และเป็นทั้งแบบอย่างในการปฏิบัติงาน ให้แก่พนักงาน เพื่อให้พนักงานหรือ ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นทายาทผู้สืบทอดแนวคิดและวิธีการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณภาพ เป็นการพัฒนาพนักงานที่มีประสิทธิภาพที่สุด
แต่การที่ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ชำนาญการในงานนั้น ๆ จะเป็นครูพี่เลี้ยง (Mentor) ในการฝึกอบรม/ฝึกภาคปฏิบัติจริงให้แก่พนักงาน/ผู้ใต้บังคับบัญชาได้นั้น ผู้บังคับบัญชา/ผู้ชำนาญการดังกล่าวจำเป็นจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งในด้านแนวคิดในการเป็นครูพี่เลี้ยง เทคนิคการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการ ถ่ายทอดการเรียนรู้และทักษะฝีมือ และในด้านจิตวิญญาณตลอดจนคุณธรรมจริยธรรมในการเป็นครูพี่เลี้ยงที่ประสบความสำเร็จ
การฝึกอบรมหลักสูตร “การเป็นครูพี่เลี้ยง” จึงจำเป็นต้องดำเนินการในเชิงปฏิบัติการ ทั้งในการ ปลูกฝังแนวคิดและความรู้ความเข้าใจ การฝึกอบรมการวิเคราะห์หาจริตการเรียนรู้ของผู้รับการฝึก (Trainees Learning Style) เทคนิคการถ่ายทอด การติดตามประเมินความก้าวหน้าและการวัดผลสำเร็จในการเป็นครูพี่เลี้ยงด้วย
วัตถุประสงค์
-
เพื่อพัฒนาผู้บังคับบัญชาและผู้ชำนาญการในงานให้มีขีดความสามารถในการเป็นครูพี่เลี้ยง ที่สามารถปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ความชำนาญ ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและพนักงานที่เป็นผู้สืบทอดทักษะได้ในชีวิตจริง
-
เพื่อฝึกฝน เทคนิคการเป็นครูพี่เลี้ยงในภาคปฏิบัติให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
-
เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ผู้ที่จะเป็นครูพี่เลี้ยง ให้สามารถถ่ายทอดทักษะความรู้คู่คุณธรรมในกระบวนการเป็นครูพี่เลี้ยง
เนื้อหาวิชา
-
แนวคิดเบื้องต้นด้านการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในองค์การ
-
หลักการและกระบวนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะนิสัยในการปฏิบัติงานของพนักงาน
-
บทบาทของครูพี่เลี้ยงในการพัฒนาบุคลากรในองค์การ
-
เทคนิคการเลือกพนักงานที่จะมาเป็นผู้รับการฝึกอบรมในระบบครูพี่เลี้ยง
-
ขั้นตอนการเป็นครูพี่เลี้ยงที่ประสบความสำเร็จ
-
การให้คำปรึกษาแก่ทายาทในระบบครูพี่เลี้ยง
-
การฝึกปฏิบัติการเป็นครูพี่เลี้ยงในสถานการณ์จำลอง
-
การฝึกฝนตนเองให้เป็นครูพี่เลี้ยงที่ประสบความสำเร็จ
-
การติดตามประเมินผลความสำเร็จในการเป็นครูพี่เลี้ยง
-
จรรยาบรรณ และคุณธรรมจริยธรรมของครูพี่เลี้ยง
กลุ่มเป้าหมาย
-
พนักงานระดับบังคับบัญชา (Supervisor) ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการปฏิบัติงานที่ปฏิบัติอยู่จริง
-
พนักงานที่มีความชำนาญเฉพาะทางและมีอาวุโสเพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความชำนาญเป็นพิเศษ
-
ทั้งสองกลุ่มจะต้องเป็นผู้ที่มีความต้องการและมีความสุขที่จะได้ถ่ายทอดความรู้และทักษะความชำนาญให้แก่คนรุ่นหลัง
-
แต่ละรุ่นไม่ควรมีผู้เรียนเกิน 24 คน
ระยะเวลาการฝึกอบรม
เป็นการฝึกอบรม 3 วัน 2 คืน (30 ชั่วโมง)
วิทยากร
ดร.โสภณ ภูเก้าล้วน และทีมงาน